เนื้อเยื่อ (Tissue) คือ กลุ่มเซลล์ที่ทําหน้าที่ร่วมกัน เนื้อเยื่อของพืชชั้นสูงพวกพืชดอก (Flowering Plant or Angiosperm) อาจจําแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic Tissue)
2. เนื้อเยื่อถาวร (Permanent Tissue)
เนื้อเยื่อเจริญ (Meristematic Tissue) คือ
เนื้อเยื่อที่ประกอบด้วยเซลล์แบ่งตัว เป็นเซลล์ที่มีชีวิต
ผนังเซลล์ บางส่วนใหญ่ เป็นเซลลูโลส มีนิวเคลียสใหญ่ แวคิวโอลเล็ก เซลล์อยู่ชิดกันมากจนไม่มีช่องว่างระหว่างเซลล์
(Intercellular Space) พบอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของพืชใน 3 บริเวณ ได้แก่
1. เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (Apical
Meristem) ได้แก่ ปลายยอด กิ่ง ตา และปลายราก ทําหน้าที่ ช่วยให้ส่วนต่าง ๆ
ของพืชยืดยาวออกไป


2. เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (Lateral
Meristem) อยู่บริเวณด้านข้างลําต้นหรือราก ช่วยทําให้ลําต้นหรือราก
ขยายออกทางด้านข้าง มีขนาดใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อนี้ คือ Vascular Cambium หรือ Cork Cambium

3. เนื้อเยื่อเจริญบริเวณข้อหรือเหนือข้อ (Intercalary
Meristem) ช่วยให้ปล้องของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีความยาวขึ้น
ที่มา : http://www.google.co.th/imgres
เนื้อเยื่อถาวร (Permanent Tissue) คือ เนื้อเยื่อที่เซลล์ไม่มีการแบ่งตัว มีรูปร่างแน่นอน เซลล์มีแวคิวโอลขนาดใหญ่ ผนังเซลล์ หนาเนื่องจากมีการสะสมสารต่ าง ๆ มากขึ้น จําแนกตามลักษณะของเซลล์ได้ 2 ชนิ ด คือ เนื้ อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Primary Permanent Tissue) และเนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน (Secondary Permanent Tissue)
เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว (Primary Permanent Tissue) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ชนิดเดียวกันแบ่งเป็น 6 ชนิด ได้แก่ เอพิเดอร์มิส พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรงคิมา เอนโดเดอร์มิส คอร์ก
1. เอพิเดอร์มิส (Epidermis) เป็นเซลล์ผิว ประกอบด้วย เซลล์ชั้นเดียวอยู่นอกสของส่วนต่างๆ ไม่มีคลอโรพลาสต์ ยกเว้นเซลล์คุม (Guard Cell) แต่อาจมีสารสีชนิดอื่นเช่น Anthrocyanin ละลายอยู่ในแวคิวโอลทําให้มีสีม่วง เช่น กระหลํ่าปลีม่วง หรือสารชนิดอื่น ๆ ที่ทําให้เกิดสีต่างๆ ที่ใบ กลีบดอก หรือสีของลําต้น เซลล์เอพิเดอร์มิส อาจเปลี่ยนแปลงไปทําหน้าที่เฉพาะอย่าง เช่น เซลล์คุม รูปร่างคล้ายเมล็ดถั่ว 2 เซลล์ที่ปากใบ ทําหน้าที่ควบคุมการปิด-เปิดปากใบ เพื่อการแลกเปลี่ยนแก๊ส เซลล์ขนราก (Root Hair) เป็นเซลล์เอพิเดอร์มิสของรากที่เปลี่ยนแปลงโดยยื่นผนังเซลล์ออกไปเป็นหลอด ทําให้เพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัสกับดินและนํ้า จึงดูดนํ้าแลเกลือแร่ได้มากขึ้นกว่าเซลล์ปกติ

ที่มา : http://www.google.co.th/imgres
2. พาเรนไคมา (Parenchyma) เป็นเซลล์ที่่มีชีวิต มีรูปร่างต่างๆ หลายแบบส่วนใหญ่
เป็นทรงกระบอก มีผนังบาง แวคิวโอลใหญ่ เกือบเต็มเซลล์ เป็นเซลล์ที่มีมากที่สุดของพืช เป็น เซลล์พื้นแทรกอยู่ทุกส่วนของพืช โดยเฉพาะส่วนที่อ่อนนุ่มและอมนํ้าจะมีมากเป็นพิเศษ เซลล์พาเรนไคมา เป็ นเนื้ อเยื่อที่ทําหน้ าที่หลายอย่ าง เซลล์ ที่ มีคลอโรพลาสต์ (Chlorenchyma) สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้ ทําหน้าที่สะสมอาหาร (Reserved Parenchyma) เช่น แป้ง โปรตีน และไขมัน บางกลุ่มทําหน้า ที่เป็นต่อมสร้างสาร เช่น นํ้ามันหอยระเหย ทําหน้าที่ช่วยในการหายใจ ช่วยขนส่งลําเลียง และอาจเปลี่ยนมาเป็นบาดแผลทําให้มีการแบ่งเซลล์ขึ้นมาซ่อมแซมเนื้อเยื่อ
3. Collenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบด้วย Collenchyma cell พบมากในบริเวณ Cortex ใต้ epidermis ลงมา ในก้านใบ เส้นกลางใบ เป็นเซลล์ที่ยังมีชีวิตอยู่ เซลล์อัดแน่น ขนาดของเซลล์ส่วนมากเล็ก หน้าตัดมักเป็นรูปสี่เหลี่ยมแต่ยาวมาตาม ความยาวของต้น และปลายทั้งสองเสี้ยมหรือตัดตรง

หน้าที่ของ Collenchyma
- ช่วยทำให้ส่วนต่าง ๆ ของพืชเหนียวและแข็งแรงทรงตัวอยู่ได้
- ช่วยป้องกันแรงเสียดทานด้วย
4. Sclerenchyma เป็น Simple tissue ที่ประกอบขึ้นด้วยเซลล์ซึ่งมีลักษณะทั่วๆ คือ เป็นเซลล์ที่ตายแล้ว (ตอนเกิดใหม่ ๆ ยังมีชีวิตอยู่แต่พอโตขึ้น Protoplasm ก็ตายไป ) เซลล์วอลหนามากประกอบขึ้นด้วยเซลล์ลูโลสและลิกนิก เนื้อเยื่อชนิดนี้แข็งแรงมากจัดเป็นโครงกระดูกของพืช

Sclerenchyma จำแนกออกได้เป็น 2 ชนิดตามรูปร่างของเซลล์ คือ
1. Fiber เรามักเรียกว่าเส้นใย ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะเรียวและยาวมากปลายทั้งสองเสี้ยม หรือค่อนข้างแหลม มีความเหนียวและยึดหยุ่นได้มากจะเห็นได้จากเชือกที่ทำจากลำต้นหรือใบของพืช ต่าง ๆ
ไฟเบอร์ D : ไฟเบอร์ตัดตามยาว E : ไฟเบอร์ตามขวาง stone cell F : สโตนเซลล์ G : สโตนเซลล์
ที่มารูปภาพ : คู่มือเตียมสอบชีววิทยา ม.4-5-6 โดย ดร.สมานแก้วไวยุทธ
หน้าที่ของ Fiber
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่พืช
- ช่วยพยุงลำต้นให้ตั้งตรงและแข็งแรง และให้ประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของ คนมาก เช่น พวกเชือก เสื้อผ้า ฯลฯ ก็ได้มาจากไฟเบอร์ ของพืชเป็นส่วนใหญ่
2. Stone cell ประกอบด้วยเซลล์ที่ตายแล้ว มีลักษณะคล้ายกับไฟเบอร์ แต่เซลล์ไม่ยาวเหมือนไฟเบอร์ เซลล์อาจจะสั้นกว่าและป้อม ๆ อาจกลมหรือเหลี่ยมหรือเป็นท่อนสั้น ๆ รูปร่างไม่แน่นอน พบอยู่มากตามส่วนแข็ง ๆ ของพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่งตามเปลือกของเมล็ดหรือผลไม้ เช่น กะลามะพร้าว เมล็ดพุทรา เมล็ดแตงโม หรือ ในเนื้อของผลไม้ที่เนื้อสาก ๆ เช่น เสี้ยนในเนื้อของลูกสาลี่ เนื้อน้อยหน่า ฝรั่ง
หน้าที่ของ Stone cell
- ช่วยให้ความแข็งแรงแก่ส่วนต่าง ๆ ของพืช (เพราะเป็นเซลล์ที่แข็งมาก

5. Cork เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุด ของลำต้นและรากใหญ่ ๆ ที่แก่แล้ว ของไม้ยืนต้น
เซลล์ของคอร์ก มีลักษณะคล้ายพาเรนไคมาเซลล์ แต่ผนังหนากว่ามีทั้ง ไพมารีและเซคันดารี วอลล์ และตามปกติจะไม่มีพิตเลย เนื้อเยื่อคอร์ก มีแต่เซลล์ที่ตายแล้ว
ต้นไม้บางชนิดมีคอร์ก หุ้มหนามาก จนบางทีเราลอกเอามาทำจุกขวดหรือแผ่นไม้คอร์กนั่นเอง คอร์กยังพบที่โคนก้านใบขณะที่ใบกำลังจะร่วง และแผลเป็นตามลำต้น
หน้าที่ของคอร์ก
- ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำ ป้องกันความร้อน ความเย็น และอันตรายต่าง ๆ จากภายนอก
เนื้อเยื่อถาวรเซิงซ้อน (Complex permanent tissue)
เกิดจากเซลล์หลายชนิดมาอยู่รวมกันและทำหน้าที่เดียวกัน ได้แก่ เนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular bundle)
ประกอบด้วย
- เนื้อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem)
- และ เนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร (Phloem)


เนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ (Xylem) ประกอบด้วยกลุ่มเซลล์ที่ทำหน้าที่หลักในการลำเลียงน้ำคือ
1. เทรคีด (Tracheid) เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีรูปร่างยาวปลายค่อนข้างแหลม ที่ผนังเซลล์มีสารพวกลิกนิน ไม่พบในพืชมีดอก เมื่อโตเต็มที่เวลลืจะตาย
2. เวสเซล เมมเบอร์ (Vesel member) ซึ่งเป็นกลุ่มเซลล์ที่มีผนังหนา และมีสารพวกลิกนิน เซลล์มีรูปร่างยาวหรือสั้นปลายเซลล์อาจเฉียงหรือตรงและมีช่องทะลุถึงกัน เมื่อโตเต็มที่เซลล์จะตาย เรียกเวสเซลเมมเบอร์หลายเซลล์มาเลียงต่อกันและมีช่องทะลุถึงกันว่าเวสเซล (Vesel)
3. ไซเล็มพาเรงคิมา (Xylem parenchyma) เป็นเซลล์พาเรงคิมาที่พบในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
4.ไซเล็มไฟเบอร์ (Xylem fiber) เป็นเซลล์ไฟเบอร์ที่พบในในเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ
![]() |
เพิ่มคำอธิบายภาพ |

ที่มา : http://online.morainevalley.edu/WebSupported/BIO112/phloem.jpg
เนื้อเยื่อลําเลียงอาหารหรือโฟลเอม (phloem) เป็นเนื้อเยื่อที่มีหน้าที่เกี่ยวกับการลําเลียงอาหารจําพวกอินทรีย์ สารจากใบที่สังเคราะห์ขึ้นส่งไปยังส่วนต่างๆของพืช
การลําเลียงนี้เรียกว่า translocation ประกอบด้วยเนื้อเยื่อต่าง
ๆ 4 ชนิด คือ
1. เซลล์ท่อลําเลียงอาหาร ( sivetube member ) เป็
นเซลล์เดี่ยวคล้ายกับเวสเซลล์แต่ผอมกว่าและ ยาวกว่าเวสเซลล์
ที่ปลายทั้งสองข้าง มีลักษณะเป็นแผนเอียง ๆ
มีรูพรุนเรียกว่าซีฟเพลท (sieve plate ) ซึ่งอาจ
เกิดตามผนังเซลล์ทุกด้าน ถ้าหลาย ๆเซลล์มาต่อกนเป็นท่อยาว เรียกวาซีฟทิวป์ (sieve tube ) รูพรุนนี้เป็นทางให้ไซโตปลาสซึมไหลไปมาได้
2. เซลล์ประกอบหรือคอมพาเนียลเซลล์ (companion
cell) หรือเซลล์เพื่อนอยู่ชิดกับซีพทิวป์เมมเบอร์เสมอ
เพราะเกิดจากเซลล์แม่ทําหน้าที่ควบคุมการทํางานของซีพทิวป์
3.
พาเรงคิมาของโฟลเอม (phloem parenchyma) เป็นเซลล์ที่มีชีวิต
ผนังเซลล์บางเหมือนพาเรนไคมาทัวๆไปแต่รูปร่างอาจแตกต่างกนไป ทําหน้าที่สะสมอาหารที่ได้จากกการสังเคราะห์แสง
มักจะพบผลึกน้ำมันอยู่มาก
4.
เส้นใยของโฟลเอม (phloem fiber) ลักษณะคล้ายกบไฟเบอร์ทั่ว ๆไป ช่วยทําให้เกิดความแข็งแรง
ผนังเซลล์มีลิกนิน สะสมอยู่มาก มักนํามาใช้เป็นประโยชน์มาก เช่น ป่าน
ปอแกวปอกระเจา


ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น